top of page

ในขณะที่คนไทยย้ายถิ่นได้ส่งเงินกลับมาเลี้ยงครอบครัวในถิ่นเกิด อันเป็นการสร้างรายได้มหาศาลแก่ประเทศไทย คนไทยไกลบ้านนับพันต้องต่อสู้กับปัญหาตามลำพัง เช่น การเข้าไม่ถึงระบบสวัสดิการ กฎหมายคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการบริการช่วยเหลือในต่างแดน จนหลายคนต้องเสียชีวิต หลายคนถูกจับกุมคุมขัง และอีกหลายคนล้มป่วยทั้งทางกายและจิตใจความเดือดร้อนของคนไทยในต่างแดน กลายเป็นประเด็น “แฟชั่น” ได้รับความสนใจและ นำเสนอจากสื่อเป็นช่วง ๆ แล้วก็หายไป สิ่งที่นำเสนอมักเน้นเรื่องสะเทือนอารมณ์ เช่น แรงงานไทยถูกโกง หรือ การค้าหญิงไทยข้ามชาติ ซึ่งจุดประกายให้เกิดการแก้ไขหรือช่วยเหลือเป็นช่วง ๆ แล้วก็ดับไปเช่นกัน สังคมไทยและสื่อปัจจุบัน เกือบไม่มีพื้นที่สำหรับสะท้อนเสียงของคนไทยย้ายถิ่นข้ามชาติเหล่านี้ การมองข้ามหรือละเลยปัญหาดังกล่าว ทำให้เกิดผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อสังคมไทยในระยะยาว เช่น การย้ายถิ่นตามผู้ปกครองไปของเยาวชนไทยแล้วต้องแปรสถานภาพเป็นแรงงานข้าม ชาติ เด็กที่เกิดจากพ่อแม่ไทยในระหว่างพำนักในต่างแดนอย่างไม่ถูกกฎหมาย ต้องกลายเป็นคนไร้สัญชาติ รวมทั้งการก่อตัวของชุมชนไทยในต่างแดน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปรากฎการณ์คนไทยคืนถิ่นไม่ว่าจะถูกจับส่งตัวกลับ หรือ สมัครใจกลับเอง แต่ประเทศไทยก็ยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการบริหารจัดการกับประเด็นการย้าย ถิ่นข้ามชาติของคนไทย รวมทั้งการให้ความคุ้มครอง และช่วย เหลือคนไทยย้ายถิ่นทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนไม่มีเจ้าภาพที่ชัดเจนในการดูแล

 

ในวันที่ 24-25 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน ร่วมกับกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ จึงจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “สถานการณ์คนไทยในต่างประเทศ และคนไทยคืนถิ่นยุทธศาสตร์ แนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือ” เพื่อระดมความคิดเห็น วางแผนยุทธศาสตร์การทำงานขับเคลื่อนผลักดันให้เกิดนโยบายการคุ้มครองคน/แรง งานไทยข้ามชาติ และสร้างเครือข่ายในกลุ่มหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับ การย้ายถิ่นข้ามชาติของคนไทยขึ้นที่ โรงแรม ที เค พาเลส แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

การประชุมดังกล่าวได้รับความสนใจ อาจจะเรียกได้ว่าเกือบทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานราชการที่มีจำนวนมากกว่าครึ่ง หนึ่งของผู้เข้าร่วมประชุม (ได้แก่ กรมการปกครอง กรมสุขภาพจิต กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กองตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด คณะกรรมาธิการแรงงาน รัฐสภา ฯลฯ) องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน นักวิชาการองค์กรนานาชาติ (International Labour Organisation) และตัวแทนชุมชนไทยในต่างแดน

ในช่วงท้ายของการประชุมวันที่สอง ผู้ร่วมเข้าประชุมจำนวน 12 ท่านได้ร่วมลงนามเป็น คณะผู้ก่อการดี มีพันธสัญญาที่จะร่วมกันทำงานผลักดันให้เกิดองค์กรถาวรดังกล่าว โดยในเบื้องแรกใช้ขื่อว่า เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยในต่างแดน ซึ่งมีทั้งผู้แทนจากหน่วยงานราชการ (กรมพัฒนาสังคม กรมสุขภาพจิต) องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และตัวแทนชุมชนไทยในต่างแดน(จากญี่ปุ่น นัฎนี วาตานาเบ้ จากเยอรมนี อัญชัญ เฮียร์ลิ่ง สวพร บัวแดง และดร.พัทยา เรือนแก้ว)

 

คณะทำงานได้พบกัน 2 ครั้ง ครั้งแรกในวันที่ 1 เมษายน 2554 และต่อมาในวันที่ 24 สิงหาคม 2554 โดยมี นางสารภี ศิลา ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ขณะนั้น เป็นเจ้าภาพ จากการพบกันทั้งสองครั้งมีข้อสรุปว่า ควรที่จะมีการสร้างเว็บไซต์เกี่ยวกับคนไทยในต่างประเทศ ที่ให้ข้อมูลต่าง ๆ และเพื่อเป็นสื่อกลางในการประสานงานของเครือข่ายฯ หาโมเดล คณะทำงานที่จะเป็นองค์กรกลางในการเชื่อมโยงหน่วยงานราชการและคนไทยในต่าง ประเทศ เพื่อพัฒนาไปเป็นองค์กรถาวรที่จะรับผิดชอบเกี่ยว กับกรณีคนไทยข้ามชาติซึ่งเป็นกระบวนการที่อาจต้องใช้เวลา ในเบื้องต้นสิ่งที่ควรคำนึงคือ“การตกผลึก” ความ คิดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยในต่างแดนให้มีความครอบคลุม โดยอาจต้องเริ่มต้นในพื้นที่ที่มีความพร้อม

กลุ่มทำงานในประเทศเยอรมนีจึงจัดตั้งเครือข่ายคนไทยในต่างแดนประเทศ เยอรมนี ขึ้น เพื่อเป็นผู้เริ่มขับเคลื่อนกระบวนการ ”ตกผลึก” และเริ่มทอใยของเครือข่ายคนไทยในต่างแดน ทำหน้าที่เป็นกลุ่มประสานงานกับกลุ่มคนไทยในประเทศเยอรมนี และในประเทศต่างๆ รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชนในประเทศไทย ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับคนไทยในต่างแดนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยในแดนร่วมพัฒนาแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคน ไทยในต่างแดน รวมทั้งทำงานร่วมกันในการผลักดันให้เกิดองค์กรถาวรในอนาคต โครงสร้างเครือข่าย

 

เครือข่ายคนไทยในต่างแดน มีเป้าหมายในการทำงานให้การสนับสนุน ส่งเสริม และเสริมสร้างศักยภาพในการทำงานให้กับอาสาสมัครที่ทำงานให้การช่วยเหลือคน ไทยในต่างประเทศ อย่างเป็นระบบ รวมทั้งการสร้างอาสาสมัครรุ่นใหม่ (capacity building) ถักทอความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสมาคม และชุมชนไทยในประเทศต่าง ๆ โดยมีเครือข่ายคนไทยในต่างแดนประเทศเยอรมนี เป็นผู้ประสานงาน ทำหน้าที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้มีการประสานความร่วมมือกันในเรื่องต่าง ๆ เช่น ร่วมกันสนับสนุนผลักดัน ให้มีการเปลี่ยนเเปลง ระดับนโบาย อันจะส่งผลดีต่อคนไทยในต่างเเดนโดยรวมด้วยความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่ม สมาคม ชุมชนไทย ที่เป็นภาคีเครือข่ายฯจะเป็นในแนวนอน

ในเยอรมนี เครือข่ายคนไทยในต่างแดน ประเทศเยอรมนี จำเป็นต้องจดทะเบียนเป็นสมาคม ให้มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล ด้วยเหตุผลในด้านการหาทุนสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมและด้วยเหตุที่ต้องเป็น นิติบุคคล จึงอาจมีชื่อตำแหน่ง แต่ในการทำงานจะเป็นแนวนอน ตัดสินใจร่วมกัน โดยมีแกนกลางเป็นผู้ดำเนินงานประสานงาน และจัดกิจกรรม

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อประสานความร่วมมือและสนับสนุนซึ่งกันและกันระหว่างกลุ่ม องค์กรและหน่วยงานของคนไทยที่ทำงานให้ความช่วยเหลือแก่คนไทยที่พำนัก/ทำงาน ในต่างประเทศ

2. ประสานความร่วมมือระหว่างนโยบายของรัฐและภาคประชาชน ทั้งในประเทศไทย และประเทศปลายทางที่คนไทยพำนักอยู่

3. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยในแดน รวมทั้งจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว

4. เพื่อร่วมกันพัฒนาแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยในต่างแดน

5. เพื่อร่วมกันผลักดันให้เกิดมาตรการในการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาคนไทยในต่างแดน ทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติ

6. เพื่อผลักดันให้เกิดองค์กรถาวร(ในประเทศไทย)ทำหน้าที่ดูแล คุ้มครอง ส่งเสริมและสนับสนุน คนไทยในต่างประเทศ

7. เพื่อสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายอาสาสมัครคนไทยในเยอรมนี พร้อมทั้งเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และศักยภาพในการให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ประสบปัญหาเนื้องาน แนวทางการดำเนินงานประสานงาน

• ประสานงานกับกลุ่ม ชุมชนไทยในประเทศต่าง ๆ เพื่อจัดเก็บข้อมูลที่มีประโยชน์ หรือจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในประเทศปลายทาง หรือที่จะเป็นประโยชน์สำหรับประกอบการตัดสินของผู้ประสงค์จะเดินทางไปต่าง ประเทศ และแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้งสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน โดยการใช้เว็บไซต์ และอินเตอร์เน็ทเป็นสื่อ (mailing list)

• จัดทำเว็บไซต์เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล และแหล่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประเทศปลายทางต่าง ๆ เช่น ข้อกฎหมาย ระบบการทำงานฯลฯ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่ม ชุมชนไทยในประเทศนั้น ๆ โดยอาจเป็นเพียงลิงค์ ให้ผู้สนใจสามารถเข้าไปค้นจากเว็บไซต์ของกลุ่มนั้น ๆ โดยตรงนอกจากนี้เว็บไซต์จะใช้เป็นเวทีในการนำเสนอประสบการณ์การทำงานเพื่อ การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ตลอดจนเผยแพร่เชิญชวนให้ร่วมการผลักดันในเรื่องต่าง ๆ

• ประสานงานในด้านการผลักดันนโยบาย มาตราการต่าง ๆ ในประเทศไทย

• การประชุมพบปะหารือ ในช่วงแรกอาจใช้โอกาสช่วงที่แต่ละคนกลับประเทศไทยพร้อมกัน ทั้งนี้อาจไม่สามารถพบปะพ้อมกันได้ทั้งหมด ในอนาคตหากมีความเป็นไปได้ด้านเงินทุนอาจจะจัดการประชุมเพื่อพบปะหารือกันใน เยอรมนีเครือข่ายคนไทยในต่างแดน ประเทศเยอรมนี นอกจากจะเป็นผู้ขับเคลื่อนเครือข่ายคนไทยในต่างแดน แล้ว กิจกรรมที่จะดำเนินการในประเทศเยอรมนี ได้แก่

• กิจกรรมในการสนับสนุน เสริมสร้างศักยภาพการทำงานของอาสาสมัครไทย เพื่อการสร้างบุคคลากรจิตอาสา เช่น การอบรมอาสาสมัคร เป็นต้น

• กิจกรรมให้ความรู้แก่ชุมชนไทย เช่น การจัดอภิปราย เสวนา และงานด้านเอกสารสิ่งพิมพ์ ได้แก่

- นิตยสารดี

- คู่มือด้านต่าง ๆ

• กิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย

 

สมาชิกก่อตั้ง ได้แก่ ชลัช วรยรรยง อัญชัญ เฮียร์ลิ่ง ลลิล เคอห์เลอร์ รุ่งฤดี รอดเมฆ สุชาดา ไบเยอร์ มลฤดี ชเตาท์ อ้อย ไกสส์ เบญจมาศ คลิงเลอร์และ ดร. พัทยา เรือนแก้ว

​ความเป็นมา

กว่า 3 ทศวรรษแล้วที่คนไทยเดินทางย้ายถิ่นข้ามชาติไปหางานทำ รวมทั้งทำงานบ้านและค้าบริการทางเพศ โดยเริ่มจากไปยุโรปและสแกนดิเนเวียต่อมาจึงขยายเส้นทางไปยังกลุ่มประเทศ ตะวันออกกลาง และกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในภาคพื้นเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประชากรไทยยังคงเคลื่อนย้ายข้ามชาติอย่างต่อเนื่อง และได้กระจายตัวไปเกือบทั่วโลก รูปแบบการย้ายถิ่นข้ามชาตินี้มิได้จำกัดเฉพาะการหางาน บ้างย้ายถิ่นเพื่อแต่งงาน ซึ่งอาจเป็นรูปแบบแอบแฝงของการย้ายถิ่นแรงงาน หรือการค้ามนุษย์เพื่อเป็นแรงงานเถื่อนหรือป้อนเพศพาณิชย์

bottom of page