top of page

ประชุมการจดทะเบียนจัดตั้ง

ที่มาหลักการ และเหตุผลของการจัดตั้งเครือข่ายคนไทยในเยอรมนีเพราะ จำนวนคนไทยที่ย้ายถิ่นฐาน เข้ามาในประเทศภาคพื้นยุโรป มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการย้ายถิ่นฐาน เพื่อแรงงาน หรือจากการแต่งงานกับชาวยุโรป เช่น ในประเทศเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก อังกฤษ เบลเยี่ยม อิตาลี และ ประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ฯลฯ สภาพความเป็นอยู่ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ของหญิงไทยย้ายถิ่นฐานเหล่านี้ยังไม่ได้มีการรวบรวมข้อมูลไว้ในประเทศปลายทาง อย่างจริงจัง มีกลุ่มคนไทย ที่ทำงานให้ความช่วยเหลือเพื่อนคนไทยที่ประสบปัญหา อยู่ แต่การทำงานเป็นไปอย่างโดดเดี่ยวเอกเทศ ไม่มีการติดต่อประสานงาน และขาด ข้อมูลว่ามีใครทำอะไร อยู่ที่ไหนบ้าง บ่อยครั้งต้องประสบปัญหาในการทำงาน ขาดการ แลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ต่าง ๆ เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ จนบ่อย ครั้งทำให้เกิดการท้อแท้ในการทำงาน ด้วยเหตุนี้ สมาคมธารา ซึ่ง เป็นกลุ่ม ที่ จัดตั้ง ขึ้น เพื่อ ช่วยเหลือตนเองของคนไทย ที่พำนักอยู่ในเยอรมนี ได้ เป็นผู้ริเริ่ม ให้ มีการ ประชุม คณะ ทำงาน ที่ทำงานให้ความช่วยเหลือคนไทยในยุโรป โดยการออกจดหมายเวียนเชิญ ให้คณะผู้แทนที่ทำงานช่วยเหลือคนไทยอยู่ในประเทศต่างๆ เข้าร่วมประชุมกันเป็นครั้งแรก ที่กรุงเบอร์ลิน

ประชุมการจดทะเบียนจัดตั้ง เครือข่ายคนไทยในต่างเเดน (ประเทศเยอรมนี)

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 9.00 - 12.00 น.

ณ. บ้านไทย Borchener Straße 2c, 33098 Paderborn

--------------------------------------------------------------

ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย

1 .  ชลัช วรยรรยง

2. ลลิล เคอฮ์เลอร์

3. อ้อย ไกสส์

4. สุชาดา ไบเยอร์

5. มลฤดี ชเตาฟ์

6. อัญชัญ เฮียร์ลิ่ง

7. รุ่งฤดี รอดเมฆ

8. ดร. พัทยา เรือนแก้ว

 

การประชุมเริ่มด้วย ดร.พัทยา เรือนเเก้ว กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด เเละได้กล่าวถึงความเป็นมาของการจัดประชุมครั้งนี้ว่า ในวันที่ 24-25 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา สถาน เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน ร่วมกับกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “สถานการณ์คนไทยในต่างประเทศ และคนไทยคืนถิ่น ยุทธศาสตร์ แนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือ”

ในช่วงท้ายของการประชุมวันที่สอง ผู้ร่วมเข้าประชุมจำนวน 12 ท่าน ร่วมลงนามเป็นเครือข่าย เบื้องแรกใช้ชื่อว่า เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยในต่างแดน ซึ่งมีทั้งผู้แทนจากหน่วยงานราชการ (กรมพัฒนาสังคม กรมสุขภาพจิต) องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และตัวแทนชุมชนไทยในต่างแดน จากญี่ปุ่น และ เยอรมนี

คณะทำงานได้พบกัน 2 ครั้ง โดยมี นางสารภี ศิลา ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ขณะนั้น เป็นเจ้าภาพ จากการพบกันทั้งสองครั้งมีข้อสรุปว่า ควรที่จะมีการสร้างเว็ปไซต์เกี่ยวกับคนไทยในต่างประเทศ ที่ให้ข้อมูลต่างๆ และเพื่อเป็นสื่อกลางในการประสานงานของเครือข่าย โดยทาง สำนักมาตราฐานการพัฒนาสังคมฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบจัดทำ รวมทั้งเป็นผู้ประสานงาน

เมื่อเปลี่ยนรัฐบาล มีการโยกย้ายข้าราชการ ผอ.สารภี ย้ายไปเป็นผอ.หน่วย งานอื่น เเละผู้เข้ามารับผิดชอบใหม่นั้น ก็ยังไม่ได้ดำเนินการสืบต่อโครงการที่ได้เสนอทำร่วมกัน ทำให้คิดว่าหากปล่อยให้เนินนานไป โครงการก็จะไม่มีโอกาสได้เริ่มทำ ดังนั้นดร.พัทยา จึงมีความเห็นว่าน่าจะเริ่มจากภาคประชาชนก่อนโดยไม่ต้องรอภาครัฐ

จึง เป็นเหตุผลให้มีการเชิญ ร่วมประชุมกันในวันนี้ เพื่อที่จะดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งเครือข่ายคนไทยในต่างเเดน ประเทศเยอรมนี เพื่อผลในด้านหาเงินทุนสนับสนุน เเละเพื่อเป็นตัวประสานงานขับเคลื่อน ให้เกิดการทำงานร่วมกันและประสานกับกลุ่ม เเละสมาคมไทยในประเทศอื่นๆ โดยจะต้องจัดตั้งในรูปเเบบของสมาคมที่ทำงานเพื่อส่วนรวม โดยไม่เเสวงหาผลประโยชน์ และกำไร

ที่ประชุมได้ซักถามทำความเข้าใจในประเด็นต่าง ๆ โดย ดร.พัทยา ได้ชี้แจงดังนี้

 

คำถาม เครือข่ายที่จัดตั้งนี้จะเป็นเฉพาะประเทศเยอรมนี กับญี่ปุ่นใช่หรือไม่

ตอบ ไม่ใช่ เเต่เนื่องจากในตอนเเรก ที่รวมตัวกันมีคนไทยจากสองประเทศนี้ที่เข้าร่วม และพร้อมที่จะทำงานร่วมกัน เเละคาดว่าหลังจากจดทะเบียนให้เป็นสมาคมที่ถูกต้องตามกฏหมายเยอรมันเเล้ว ก็จะส่งจดหมายเเนะนำไปยังประเทศอื่น ๆ ที่มีเครือข่ายอยู่เช่น มาเลเซีย สิงค์โปร์ เเคนาดา ไต้หวัน เพราะเคยได้ประสานงานกันมาก่อนบ้างเเล้วในระดับหนึ่ง

 

คำถาม ภาพของเครือข่ายฯนั้นจะเป็นอย่างไร รวมทั้งรูปเเบบของสมาชิกด้วย

ตอบ เครือข่าย มีเป้าหมายในการทำงานให้การสนับสนุน ส่งเสริม และเสริมสร้างศักยภาพในการทำงานให้กับอาสาสมัครที่ทำงานให้การช่วยเหลือคน ไทยในต่างประเทศ อย่างเป็นระบบ รวมทั้งการสร้างอาสาสมัครรุ่นใหม่ (capacity building) ความสัมพันธ์กับกลุ่ม และสมาคมคนไทยต่าง ๆ จะ เป็นไปในแนวราบ เครือข่ายที่จะจัดตั้งนี้จะไม่ใช่ศูนย์กลาง หรือแกนกลาง ที่กลุ่มต่าง ๆ จะต้องขึ้นต่อ เเต่จะเป็นผู้ประสานงาน ทำหน้าที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้มีการประสานงานความ ร่วมมือกันในเรื่องต่าง ๆ เช่น ร่วมกันสนับสนุนผลักดัน ให้มีการเปลี่ยนเเปลง ระดับนโบาย อันจะส่งผลดีต่อคนไทยในต่างเเดนโดยรวมด้วย

 

คำถาม ในทางปฏิบัตินั้นยังไม่ชัดเจน เครือข่ายคนในต่างเเดน จะมีสำนักงานใหญ่ที่เยอรมนีหรือไม่ เเละทำอย่างไรที่จะไม่ให้คนอื่นมองว่าต้องมาอยู่ใต้เครือข่ายฯนี้

ตอบ ใน เริ่มเเรกนั้น ตั้งใจว่าจะให้ทางกรุงเทพฯเป็นศูนย์กลาง เเต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีอะไรคืบหน้า พวกเราใน เยอรมนี จะเป็นผู้เริ่มขับเคลื่อนก่อน รวมตัวกันได้ก่อน เเละหากจัดตั้งได้สำเร็จก็จะเสนอให้ประเทศอื่น ๆ ที่พร้อมจะร่วมทำด้วยเข้ามาร่วม และเมื่อคนไทยในประเทศอื่นเห็นตัวอย่างก็อาจที่จะเริ่มดำเนินการเช่นกัน เราจะจัดทำ Website เครือข่ายฯ เพื่อเป็นเเรงกระตุ้น ให้กลุ่มคนไทยในประเทศต่าง ๆ ดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน

 

ถาม บทบาทหลักของเครือข่ายฯในเยอรมนีคืออะไร

ตอบ คือ การสร้างความเข้มเเข็งของเครือข่ายอาสาสมัครคนไทยในเยอรมนี พร้อมทั้งให้ข้อมูลความรู้ เพิ่มพูน ทักษะ เเละศักยภาพในการให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ประสบปัญหา ให้เป็นระบบโดยมีเครื่องมือ คือ นิตยาสาร ดี เเละขอย้ำว่าอันที่จริงเเล้ว อยากให้หน่วยงานในกรุงเทพฯ รับผิดชอบมากกว่า เเต่ก็ไม่มีใครรับผิดชอบอย่างจริงจัง ดังนั้นเราเองจึงต้องเป็นผู้ผลักดันนำเสนอ ในเรื่องมุมมองเกี่ยวกับคนไทยในต่างแดน จากความเป็นจริงที่ว่า ผู้ที่อยู่ต่างเเดนได้ส่งเงินเข้าประเทศไทย ทำให้ภาพของคนไทยในต่างแดนเป็นผู้ร่ำรวย ต้องให้การสนับสนุนประเทศไทย แต่ไม่เคยมีใครเห็นความจริงที่ว่า คนเหล่านี้นั้นเขาต้องเผชิญกับปัญหาอะไรบ้างในการใช้ชีวิตอยู่ต่างแดน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความเป็นอยู่ สภาพครอบครัว ความสัมพันธ์ ระหว่างครอบครัว ฯลฯ ดังนั้นอยากจะขอพื้นที่ที่จะทำความเข้าใจกับคนไทยในสังคมไทยว่า คนที่อยู่ต่างประเทศนั้นมีภาวะเช่นไรบ้าง ไม่ใช่มีชีวิตที่ดีกว่าอยู่ประเทศไทย ไปเสียทุกอย่าง

ใน ด้านการผลักดัน ขอยกตัวอย่างที่ได้เคยร่วมกันทำการผลักดันให้เกิดผลในทางการปฏิบัติมาเเล้วก ็คือ เรื่องกฏหมายที่ดิน ซึ่งเมื่อก่อนไม่อนุญาตให้หญิงไทยที่เเต่งงานกับคนต่างชาติมีสิทธิ์ครอบครอง ที่ดิน เเต่หลังจากที่ได้มีการร่วมมือประสานกันในหลาย ๆ กลุ่ม หลาย ๆ องค์กรก็มีผลให้มีการเเก้ไขกฏหมายให้สิทธื์การถือครองที่ดินได้ เเละสิ่งที่ได้เริ่มทำไปอีกอย่างหนึ่งก็คือ การรวบรวมรายชื่อเรียกร้องขอให้มีบริการทำบัตรประชาชนให้กับคนไทยที่อยู่ ต่างประเทศ โดยที่ไม่ต้องเดินทางกลับไปทำที่เมืองไทย ซึ่งจากคำบอกเล่าของอธิบดีกรมการกงสุล ก็คือ กระทรวงมหาดไทยเห็นชอบ กำลังจัดทำแนวปฎิบัติในการดำเนินการอยู่ ยังไม่แล้วเสร็จ

ถาม ถ้าเช่นนั้น จุดประสงค์สำหรับกลุ่มเป้าหมาย ก็คือการสร้างศักยภาพของบุคคลากร คนที่ทำงานให้คำปรึกษาช่วยเหลือคนไทย

ตอบ ใช่ เเละไม่เพียงเเต่เท่านั้น เราควรที่จะผลักดันให้มีการประสานงานกับองค์กรภาครัฐของทางเยอรมันอีกด้วย รวมทั้งการพัฒนาบุคคลากร เเต่ก็ไม่จำเป็นว่าเราจะต้องเรียกร้องให้แต่ละกลุ่มเห็นด้วยกับความคิดของ เรา เรามีจุดที่จะนำเสนอ เเละหากเขาเห็นว่า มันมีค่า เเละเป็นประโยชน์กับคนที่ทำงานในองค์กรของเขานั้น คิดว่าไม่เป็นการยากเลยที่เขาจะเข้ามาเป็นสมาชิก เเละร่วมกิจกรรมที่ทางเราจะนำเสนอ และจัดให้มีขึ้น

 

ถาม หากว่าผลตอบรับเป็นไปในทางลบ จะทำอย่างไร

ตอบ เรื่อง นี้ได้คาดการเอาไว้เเล้วว่าอาจจะมี เเต่หากว่ามีความชัดเจนในโครงการที่จะทำ ก็ไม่น่าเป็นปัญหาอะไร และความคิดแง่ลบเป็นเรื่องธรรมดาของสังคมไทยในต่างแดน

 

จากนั้น ที่ประชุมได้หารือถึงเรื่องชื่อที่จะจดทะเบียน ที่ประชุมได้เห็นพ้องตรงกันว่า จะให้ใช้ชื่อ ,,เครือข่ายคนไทยในต่างเเดน,, ชื่อภาษาอังกฤษว่า Network Thai Oversea ชื่อย่อ NTO เเละให้กำกับในวงเล็บเป็นภาษาเยอรมัน ว่า,, Netzwerk der Thailänder im Ausland,,

ประเด็นที่พูดคุยกันต่อ ก็คือ คณะทำงาน ซึ่งในช่วงเเรกนี้ก็คงจะต้องเป็นทั้ง 8 คนที่นั่งในที่ประชุมนี้ไปก่อน จนกว่าจะมีการเปลี่ยนเเปลง

 

สมาชิก นั้น จะเน้น กลุ่ม หรือชมรม องค์กร สมาคม ที่ทำงานให้การช่วยเหลือคนไทยในเยอรมนี ไม่เน้นบุคคลทั่วไป การเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมกับเรานั้น จะเข้ามาในนามของกลุ่ม โดยต้นสังกัด คือ กลุ่ม ชมรม องค์กร เเละสมาคม นั้น ๆ เป็นผู้พิจารณาว่าใครจะมาร่วม

เเต่ห ากมีผู้ที่สนใจทั่วไปจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกเเต่ไม่ได้สังกัดกลุ่มใดๆอะไรทั้ง สิ้น ก็มีโอกาสที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกได้ โดยเป็นสมาชิกสมทบ ให้การสนับสนุน อาจยังไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม แต่จะได้รับเอกสาร เเละนิตยสาร ประจำของเครือข่ายเรา นั่นก็คือ “นิตยสาร ดี”

อัตราค่าสมาชิกนั้น สำหรับกลุ่ม ชมรม องค์กร เเละ สมาคม นั้น ปีละ 50 ยูโร สมาชิกบุคคล ปีละ 30 ยูโร

 

งาน ของเครือข่ายฯ ที่จะจดทะเบียนนี้ ประเด็นหลักก็คือ จะพยายาม รวบรวมรายชื่ออาสาสมัครในเยอรมนีที่ให้การช่วยเหลือคนไทย รองลงมาก็คือ จะทำ Website ของทางเครือข่ายฯ เพื่อใช้เป็นตัวหลักในการประสานงานกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งอาจต้องทำ เป็น 3 ภาษา คือ ไทย เยอรมัน เเละอังกฤษ ทั้งนี้จะเป็นผลถึงการเข้ามาเป็นสมาชิกของประเทศต่างๆนั้นด้วย ในอนาคต คุณอัญชัญ ก็จะรับไปจัดการเรื่องนี้

งานเอกสารที่สำคัญเป็นหลัก ก็คือ นิตยสารดี เเละผลิตคู่มือ หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมอบรมเสริมสร้างบุคคลากร ในเเต่ละครั้งไป

ใน การเผยเเพร่ประชาสัมพันธ์ เครือข่ายฯ นี้จะทดลองติดต่อสื่อทางด้านโทรทัศน์ ในเมืองไทยด้วย เพื่อเป็นการประสาน เเละเสริมสร้างความเข้าใจคนไทยในต่างเเดน ให้มีมุมมองที่หลากหลายไปกว่าที่เคยได้รับมา ให้กับคนไทยในเมืองไทย ได้รับรู้ถึงความจริงของการมีชีวิตต่างเเดน ที่จริง ๆ เเล้วมีทั้งด้านบวกเเละด้านลบ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ควรจะให้เข้าถึงคนทั่วๆไป ให้มากขึ้น เพื่อเป็นการเรียนรู้ เตรียมพร้อม มีข้อมูล ก่อนการตัดสินใจ ที่จะมาใช้ชีวิตในต่างเเดน

ที่ ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่า หากมีการจดทะเบียนถูกต้องเรียบร้อย งานเเรกที่จะทำก็คือ โครงการจัดอบรมบุคคลากร ที่ทำงานให้การช่วยเหลือคนไทยในเยอรมนี ด้วยการใช้ดนตรีบำบัด โดยมีวิทยากร คือ คุณชลัส วรยรรยงค์ คุณชลัช วรยรรยง ซึ่งกำหนดคร่าวๆ ว่า อาจจะเป็น ในระหว่างวันที่ 20 – 22 เมษายน ปีนี้ หรือ วันที่ 27-29 เมษายน ปีนี้ ที่ Frankfurt am Main ซี่งก็มีเงินสนับสนุนโครงการนี้อยู่เเล้ว

 

สรุป ว่าในการจดทะเบียนนั้น 3 ท่านที่จะต้องมีตำแหน่งสำหรับการขอจดทะเบียนเป็นสมาคม คือ

ดร. พัทยา เรือนเเก้ว ประธาน

คุณสุชาดา Beyer รองประธาน

คุณอัญชัญ Hirling เหรัญญิก

 

การเดินเรื่องขอจดทะเบียน ดร. พัทยา จะเป็นผู้ดำเนินการ

 

ปิดประชุม เวลา 12.00 น.

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2555

 

 

รุ่งฤดี รอดเมฆ บันทึกการประชุม

bottom of page